บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน ต.บางปู จ.สมุทรปราการ

ICT บางปู  กับการต่อยอดความรู้  สู่การขายออนไลน์แบบ 24 ชั่วโมง ตำบลบางปู เป็นตำบลที่อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพการทำประมง และโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ผลผลิตจากการทำประมงที่โดดเด่นในปัจจุบัน ได้แก่ การทำประมงปลาสลิด ปลานิล โดยเฉพาะ ปลาสลิด เป็นผลผลิตที่ถูกนำไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ชุมชนมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ปลาสลิดหอม 3 รส น้ำพริกปลาสลิด เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการวางจำหน่ายที่หน้าร้านและทางออนไลน์ โดยเฉพาะการขายออนไลน์นั้น ได้รับการอบรมและให้ความรู้จาก ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน ต.บางปู จ.สมุทรปราการ กว่าจะมาเป็น…...ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน ต.บางปู จ.สมุทรปราการ จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งศูนย์ฯ เริ่มต้นจาก คุณป้าสายหยุด พูลสวัสดิ์ อดีตชาวไร่ ชาวนา ที่เป็นผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ เมื่อตอนอายุได้ 40 ปี ถึงได้เริ่มศึกษาต่อ กศน. จนจบชั้นมัธยมปลาย และเรียนต่อจนจบปริญญาตรี จากนั้นนำความรู้ที่ได้เรียนด้านการพัฒนาชุมชน มาตั้งกลุ่มสตรีเพื่อการพัฒนาอาชีพ โดยเริ่มจากการนำผลิตภัณฑ์ในชุมชน ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป ก

ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเพื่อพ่อหลวงชุมชนบ้านทุ่ง

ธรรมชาติสวยงาม เสริมสร้างภาษา พัฒนาสินค้า ท่องเที่ยวก้าวหน้า เศรษฐกิจก้าวไกล "ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี"   จังหวัดกระบี่เป็นจังหวัดที่มีหมู่เกาะน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก นอกจากหมู่เกาะพีพีแล้ว หมู่เกาะลันตา น้อยก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยวเวลามาเที่ยวจังหวัดกระบี่       ดร.สุกิจ ยงกิจ นายกอบต.เกาะลันตาน้อย ได้กล่าวว่า ถึงแม้อาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่นจะเป็นการ ประมงและเกษตรกรรม แต่ว่า ทาง อบต. ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีการส่งเสริมการเรียนภาษาและการส่งเสริมด้านศิลปะหัตถกรรมของท้องถิ่น เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม พื้นเมืองไม่ให้สูญหาย โดยทางชุมชนได้ร่วมมือกับทาง “ศูนย์ไอซีทีชุมชน บ้านทุ่งเพื่อพ่อหลวง บ้านทุ่งวิทยพัฒน์”  ร่วมกันให้ความรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและเศรฐษกิจ ดียิ่งขึ้นไป วศิน์ธัญญ คล่องแคล่ว ผอ.โรงเรียน บ้านทุ่งวิทยพัฒน์,คุณพัฒนา บุตรแขก กำนัน ต.เกาะลันตาน้อยและ ครูหร่อดีย๊ะ การกล้า ผู้ดูแลศูนย์ไอซ

ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเพื่อพ่อหลวงเทศบาลตำบลหนองใหญ่

เกษตรอินทรีย์ สินค้าชุมชนมุ่งสู่ตลาดออนไลน์ “หลวงพ่อโตคู่บ้าน      ถิ่นฐานปราสาทขอม   ข้าวหอมกระเทียมดี     มีสวนสมเด็จ   เขตดงลำดวน     หลากล้วนวัฒนธรรม    เลิศล้ำสามัคคี” นี่คือคำขวัญของจ.ศรีสะเกษ เมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่หลากหลายและงดงาม มีวัดพระธาตุเรื่องรอง มีเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน ศิลปวัฒนธรรมของ 4ชนเผ่าของอีสานใต้ คือ ลาว ส่วย เขมร และเยอ และทุกๆปีที่ อ.จันทร์ ต.หนองใหญ่จะมีประเพณี “ขอน้ำเอาทราย”  ที่สืบทอด กันมาอย่างยาวนาน คือการที่ชาวบ้านนำน้ำจากลำห้วยทับทันขึ้นมาทำพิธีพุธบูชา และนำน้ำและทรายเหล่า นั้นกลับไปที่ไร่นาขอตัวเองเพื่อให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ นอกจากมีประเพณีที่งดงามแล้ว บ้านหนองใหญ่ยังมีผลิตภัณฑ์พืชไร่การเกษตรแบบปลอดสารพิษ โดยมีคุณเอกมร มะโนรัตย์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองใหญ่ เป็นผู้รณรงค์ให้ชาวบ้านตำบลหนองใหญ่ ปลูกข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพ สามารถทำรายได้ส่งขายได้หลายพื้นที่ โดยมีศูนย์การเรียนรู้ไอซีที ชุมชน เพื่อพ่อหลวง เทศบาลตำบลหนองใหญ่ ให้คำแนะนำทางด้านการค้าออนไลน์อีกด้วย ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน เพื่อพ่อหลวง เทศบาลตำบลหนองใหญ่  

ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนโรงเรียนบ้านวังสะพุง

เรียนรู้เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ก้าวหน้าสู่สากล โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ผานาง-ผาเกิ้ง จังหวัดเลย เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรักษาสภาพป่าที่สมบูรณ์ มิให้ถูกทำลาย   พัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฏรในโครงการให้มีอาชีพ และที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง  และ สร้างอาชีพเสริม  ส่งเสริมศิลปาชีพ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น  ในโครงการมีการทอผ้าไหม เครื่องหัตถกรรม เครื่องครัวผลิตจากไม้ไผ่ และ ไม้สัก เป็นต้น จ่าสิบเอกบัณฑิตย์ วิไลศรีประเสริฐ เจ้าหน้าที่โครงการพระราชดำริบ้านเล็กในป่าใหญ่ผานาง-ผาเกิ้ง ได้กล่าวว่าโครงการนี้ ได้มีส่งเสริมอาชีพในหลายๆรูปแบบ ทั้งกลุ่มทอผ้าไหม กลุ่มหัตถกรรม  กลุ่มแปรรูปสมุนไพร กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มตีเหล็ก โดยทางโครงการก็ได้มีการส่งเสริมให้ความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ผานาง-ผาเกิ้งแล้ว ที่จังหวัดเลย ยังมีแหล่งส่งเสริมการเรียนรู้ ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โรงเรียนหมู่บ้านวังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย ที่ศูนย์การเรียนไอซี

ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน กศน.เขวาสินรินทร์

ICT ดีเด่น  เป็นถิ่นอารยธรรม นำความรู้สู่ชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กศน.เขวาสินรินทร์ ตั้งอยู่ที่ บ้านโชค ต.เขวาสินรินทร์ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ โดยมี อ.เสน เหลี่ยมดี เป็นผู้ดูแลศูนย์ จัดตั้งโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกศน.อำเภอเขวาสินรินทร์ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงความรู้ด้านเทคโนโลยีกับชุมชนอำเภอเขวาสินรินทร์จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในด้านผ้าไหม และเครื่องเงินโบราณ เป็นสินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง ดังนั้นการให้ความรู้ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตและการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ แก่ชุมชนอาทิการใช้ สมาร์ทโฟนเพื่อการสื่อสาร การขายสินค้าออนไลน์  ช่วยสร้างโอกาสให้แก่ชุมชน ทั้งการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ที่มีในโลกออนไลน์ รวมถึงการเข้าถึงและเปิดรับลูกค้าใหม่ๆ ที่สนใจในสินค้าของชุมชน รวมถึงบริการเพื่อ การท่องเที่ยวอันเป็นกิจกรรมใหม่ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาร่วมกิจกรรม “1 วัน เที่ยวแดนอารยะธรรม เขวาสินรินทร์”  ซึ่งนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลและจองทริปท่องเที่ยวนี้ผ่านออนไลน์ หรือถ้ามี เวลาจำกัดก็สามารถแวะชมและเลือกซื้อผ้าไหมและเครื่องเงินโบราณที่ศูนย์สินค้

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเศรษฐกิจ เทศบาลตำบลอากาศอำนวย

รูปภาพ
ICT ชุมชน กับการยกระดับ ผ้าครามสู่การค้าออนไลน์ อำเภออากาศอำนวย เดิมเป็นเพียงกิ่งอำเภออากาศอำนวย ที่อยู่ในการปกครองของอำเภอ วานรนิวาสจังหวัดสกลนคร ในภายหลังเริ่มมีราษฎรตั้งอยู่หนาแน่น ทางกระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ ยกฐานะกิ่งอำเภออากาศอำนวยขึ้นเป็นอำเภออากาศอำนวย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2508 เป็นต้นมา "ไทโย้ย"  เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง ที่ตั้งรกรากอยู่ในอำเภออากาศอำนวย  โดยในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีการจัดงานวัน “ไทโย้ย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอนุรักษ์รูปแบบวิถีชีวิต ขนบธรรม เนียม ประเพณี ภูมิปัญญา ความเชื่อ และวัฒนธรรม ไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้จดจำและสืบทอดต่อไป ของดีที่ขึ้นชื่อของอำเภออากาศอำนวย ได้แก่ ผ้าย้อมคราม และผ้ามัดหมี่ย้อมคราม ที่เกิดขึ้นจาก การรวมตัวของ "สมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้ามัดหมี่ ชุมชนที่ 5 หมู่ที่ 6" โดยมี ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเศรษฐกิจเทศบาล ตำบลอากาศอำนวย ที่เป็นหน่วยงานหลักในการอบรม และให้ความรู้ ในการขายออนไลน์ ให้แก่คนในชุมชน ผอ.ปาริชาติ โน้ตสุภา ผู้อำนวยการศูนย์ดิจิทัลชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เทศบาลตำบล อากาศอำนวย

1 วันเที่ยวแดนอารยธรรมเขวาสินรินทร์

รูปภาพ
"เขวาสินรินทร์  ดินแดนหัตถกรรม เลิศล้ำภูมิปัญญา ตระการตาผ้าไหม ระบือไกลประคำสวย ร่ำรวยประเพณี มีปราสาทโบราณ สืบสานเพลงกันตรึม" อำเภอเขวาสินรินทร์ (อ่านว่า ขะ - หวาว - สิน - นะ - ริน) ตั้งอยู่ห่างอำเภอเมืองสุรินทร์ไปทางทิศเหนือประมาณ 20 กิโลเมตร อาชีพหลักคือเกษตรกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าวหอมมะลิ รวมไปถึงเลี้ยงสัตว์ ส่วนอาชีพเสริมก็จะเป็นการผลิตเครื่องเงินโบราณ และหัตถกรรมผ้าไหม ที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ กศน.อำเภอเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้เรียนรู้อารยธรรม ของดีของ ชุมชนเขวาสินรินทร์  โดยใน 1 วันจะไปท่องเที่ยวตามจุดดังต่อไปนี้ จุดที่ 1 วัดป่าเขวาสินรินทร์ แวะกราบนมัสการพระสถูปเจดีย์ เป็นเจดีย์สิริมังคลานุสรณ์ วัดป่าเขวาสินรินทร์ เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นศูนย์รวมพิธีกรรมและจิตวิญญาณของผู้คนในพื้นที่และพุทธศาสนิกชนที่ศรัทธาทั่วไป จุดที่ 2 แคมป์ช้างชุมชนเขวาสินรินทร์ เรียนรู้วิถีชีวิตคนกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเลี้ยงช้าง สัมผัสกับช้างพลายป๋อง ช้างแสนรู้ที่มีงานการแสดง

ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กศน.เขวาสินรินทร์

รูปภาพ
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กศน.เขวาสินรินทร์ ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน กศน.เขวาสินรินทร์  ตั้งอยู่ที่ บ้านโชค ต.เขวาสินรินทร์ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ โดยมี อ.เสน เหลี่ยมดี เป็นผู้ดูแลศูนย์ จัดตั้งโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกศน.อำเภอเขวาสินรินทร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงความรู้ด้านเทคโนโลยีกับชุมชนอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงในด้านผ้าไหม และเครื่องเงินโบราณ เป็นสินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง 1 วัน เที่ยวแดนอารยธรรมเขวาสินรินทร์  ดังนั้นการให้ความรู้ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตและการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ แก่ชุมชน อาทิ การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการสื่อสาร การขายสินค้าออนไลน์  ช่วยสร้างโอกาสให้แก่ชุมชนทั้งการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ที่มีในโลกออนไลน์ รวมถึงการเข้าถึงและเปิดรับลูกค้าใหม่ ๆ ที่สนใจในสินค้าของชุมชน รวมถึงบริการเพื่อการท่องเที่ยว อันเป็นกิจกรรมใหม่ ที่นักท่องเที่ยวสามารถมาร่วมกิจกรรม “1 วัน เที่ยวแดนอารยะธรรมเขวาสินรินทร์”   ซึ่งนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลและจองทริปท่องเที่ยวนี้ผ่านออนไลน์ หรือถ้ามีเวลาจำกัดก็สามารถแวะชมและ

“ผ้าไหมโบราณ หัตถกรรมเครื่องเงินภูมิปัญญาท้องถิ่น” อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

รูปภาพ
จังหวัดสุรินทร์ นอกจากเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่เลื่องชื่อแล้ว ผ้าไหมและเครื่องเงินเขวาสินรินทร์  ก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ทั้งการทอผ้าไหมพื้นเมืองที่เรียกว่า ผ้าโฮล และการผลิตลูกประคำเงินหรือประเกือมในภาษาท้องถิ่น เอกลักษณ์ที่โดเด่น ผ้ามัดหมี่โบราณ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่วันนี้มีคุณป้า นงเยาว์ ทรงวิชา ประธานกลุ่มผ้ามัดหมี่โบราณ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการถ่ายทอดรูปแบบและวิธีการทอแบบดั้งเดิม ซึ่งความพิเศษของ ผ้าโฮลแท้ๆนั้นอยู่ที่การย้อมสีที่ทำมาจากวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่านั้น ซึ่งให้ความสวยงามเป็นเอกลักษณ์มีความโดดเด่นจนเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบผ้าไหม ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตช่วยทำให้ผู้ที่ชื่นชอบผ้าไหมโฮล สามารถติดต่อและสั่งซื้อผ้าไหมตรงจากกลุ่มชาวบ้านได้ อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมและช่วยเหลือจาก ศูนย์การเรียนรู้ไอซีที ชุมชน เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์  ที่ช่วยให้คำแนะนำแก่สมาชิกของกลุ่มฯในการเปิดช่องทางการค้าออนไลน์ ซึ่งเพิ่มยอดขายและสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าจากทั่วโลก นอกเหนือจากการออกบูธจัดจำหน่ายตามสถานที่ต่างๆเพียงอย่างเดียว นอกจากผ้า

ความรู้ไม่มีวันสิ้นสุด การเรียนก็เช่นกัน

รูปภาพ
ความรู้ไม่มีวันสิ้นสุด การเรียนก็เช่นกัน ในโลกยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก ความรู้ที่เคยเรียนในอดีตก็อาจใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงควรที่จะหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ มากมาย ซึ่งกระทบกับอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ในลอนดอนประเทศอังกฤษ กว่าจะได้ใบขับขี่มาจะต้องรู้จักถนน 6 หมื่นสาย ต้องสอบกันถึง 12 ครั้ง ใช้เวลา 5-6 ปีถึงจะผ่าน แต่หลังจากมี Uber ซึ่งเป็นบริการเรียกแท็กซี่ด้วยมือถือ โดยที่คนขับไม่จำเป็นต้องไปสอบใบอนุญาต และสามารถใช้เทคโนโลยีในการนำทางได้โดยที่ไม่ต้องรู้จักสถานที่ที่จะไปส่งผู้โดยสาร ทำให้คนขับแท็กซี่ในลอนดอนออกมาประท้วง ธุรกิจโรงแรมก็ได้รับผลกระทบเช่นกันจากการเกิดขึ้นของ Airbnb ที่ทำให้คนทั่วไปสามารถปล่อยห้องให้เช่าได้ ทำให้โรงแรมเกิดคู่แข่งรายใหม่มากมาย แม้แต่ธนาคารก็มีผลกระทบเช่นกัน บริการโอนเงินข้ามประเทศ ที่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมทั้งต้นทางและปลายทาง และยังต้องจ่ายส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนอีก แต่ก็มีคนคิดแอพ Tranferwise ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจับคู่คนที่จะโอนเงินระหว่างประเทศเข้าด้วยกัน ยกตัวอย

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

รูปภาพ
จากนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ภายใต้แผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งให้ประชาชนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาร่วมกับชีวิตประจำวันและอาชีพได้อย่างสร้างสรรค์ จึงเป็นที่มาของ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล อันเป็นความร่วมมือกันของ 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาวิทยากรของศูนย์ดิจิทัลชุมชนตลอดจนประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมและกิจกรรมต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการพัฒนาบุคลากรของ กศน. ให้เป็นผู้ทำให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัล และ ดีแทค จัดทำหลักสูตรประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับชุมชน สร้างเครือข่ายเน็ตอาสา และสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อให้คนรับรู้ในวงกว้าง ภายใต้โครงการดังกล่าวสามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไปเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 คน ตลอดปี 2559 ที่ผ่านมา ทั้ง 3 ฝ่ายได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดการเรียน

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

รูปภาพ
จำนวนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต 67% ของประชากร มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ถึง 90 ล้านหมายเลขและมากกว่า 50% เป็นแบบ Smartphone ซึ่งทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายในขณะที่รัฐบาลก็มีโครงการ "เน็ตประชารัฐ' ซึ่งจะทำให้หมู่บ้านที่ยังไม่มีบริการอินเตอร์เน็ตจำนวน 40,000 หมู่บ้านให้มีอินเตอร์เน็ตความสูงใช้ เมื่อประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ การให้ความรู้เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตให้กับประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจึงได้ศึกษา พัฒนา หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล   ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 9 ประเด็นหลักดังรูป หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล โดยมีการจัดงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา หลักสูตร และรณรงค์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งมีตัวแทนทั้งจากภาคการศึกษา ทั้งครู ข้าราชการ ผู้บริหาร สถาบันการศึกษารวมถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐและบุคคลทั่วไป เข้าร่วมรับฟัง หลักสูตร และการรณรงค์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างส

หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

รูปภาพ
ปัจจุบันนี้  ประเทศไทยของเรามีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 67% ของประชากรทั้งหมด  และพบว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่กันในปัจจุบันนี้  มากกว่า 50% เป็นรูปแบบของ Smartphone  ขณะที่ทางรัฐบาลเองนั้นก็ตั้งเป้าจะให้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง  เข้าถึงหมู่บ้านอีก 40,000 หมู่บ้าน  ภายในต้นปีหน้า  ดังนั้น การให้ความรู้เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตให้กับประชาชนให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์จึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อเร็วๆ นี้  ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เป็นประธานในงานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษา หลักสูตร และรณรงค์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ   หลักสูตร และรณรงค์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์  คือโครงการที่เกิดขึ้นโดยมีว้ตถุประสงค์สำคัญเพื่อให้คนไทยสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเข้าใจ โดยตัวหลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล ที่พัฒนาขึ้นมานี้ มีเนื้อหาครอบคลุม 9 ประเด็นหลัก และนอกเหนือจากตัวหลักสูตรแล้ว  ภายใต้โครงการนี้ยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างพลเมืองดิจิทัล  ผ่านการสร้างครูดิจิทัลแกนนำ  การสร้างเครือข่ายเยาวชนดิจิท

คนไทยติดอินเตอร์เน็ตแค่ไหน?

รูปภาพ
ปัจจุบันนี้คนไทยใช้อินเตอร์เน็ต 45 ชั่วโมง/สัปดาห์ หรือ 6.4 ชั่วโมง/วัน โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต มากที่สุดคือ สมาร์ตโฟน 85.5% ซึ่งใช้งานเฉลี่ย 6.2 ชั่วโมง/วัน โดยส่วนใหญ่เวลากับการเข้าชมสื่อ Social Network  ซึ่งมีถึง 96.1% ตามมาด้วย ดูวิดีโอใน YouTube ดังนั้นนับวันบทบาทของสื่ออินเตอร์เน็ตบนมือถือนั้นจะมีมากเพิ่มขึ้น เพราะสื่อทั้งหลายในตอนนี้พร้อมส่งคอนเท้นต์ หรือ ข้อมูลตนเองไปถึงหน้าจอมือถือ ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่ามือถือแบบสมาร์ทโฟนช่วยให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลได้อย่าง รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา  เห็นได้จากพฤติกรรมของผู้คนวันนี้  รูปแบบชีวิตเดิมๆ ที่เราจะเดินทางมองวิวทิวทัศน์รอบข้าง ดื่มด่ำบรรยากาศ แล้วมาหนังอ่านข่าวสารที่โต๊ะทำงานภายหลังเริ่มหมดไป ทุกคนต่างก้มหน้าก้มตาเสพสื่อบนมือถือตลอดเวลา แม้ว่าเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน จะมีข้อดีมากมาย แต่ก็มีข้อเสียที่ควรคำนึงถึง หากเราใช้มันด้วยความประมาทและไม่สร้างสรรค์ในการใช้ข้อมูลซึ่งอาจแฝงภัยร้ายมาด้วย  อย่างเช่น  เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม  การละเมิดลิขสิทธิ์ การโจมตี และ เจาะระบบเครือข่ายด้วยไวรัสคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้การใช้

หนังสั้นเรื่อง "จิตแพทย์"

รูปภาพ
หนังสั้นเรื่อง "จิตแพทย์" ผลิตโดย มหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์ภูร นิมมล (อาจารย์ที่ปรึกษา) นางสาวธิดาทิพย์ พรรคพล นายชนาธิป พิสุทธิ์เสรีวงศ์ นายณัฐวัตน์ วันดี แนวคิดหนังสั้นเรื่อง จิตแพทย์ เรื่องราวของชีวิตคู่คู่หนึ่ง ที่มีปัญหาด้านชีวิต และปัญหาหลักๆคือการใช้ชีวิตร่วมกัน แต่ปัญญาที่เกิดขึ้นกลับไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ แต่เป็นมนุษย์กับเทคโนโลยี(มือถือ) ซึ่งทั้งสองก็ได้มาปรึกษาจิตแพทย์ และได้เล่าเรื่องราวและปัญหาที่เกิดในช่วงที่ทั้งสองอยู่ร่วม เรื่องการใช้งาน ความเหมาะสมในการใช้ การดูแลรักษา ที่บางครั้งมนุษย์อย่างเราก็ละเลยปัญหาต่างๆและมองว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดแปลกอะไร