บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

โครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน

รูปภาพ
การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 ยังคงเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติ ภายใต้วิสัยทัศน์ "ปฏิรูปประเทศไทยสู่ Digital Thailand" มุ่งเน้นการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อขับเคลื่นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง โดยเป้าหมายสำคัญของแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมคือ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ก้าวทันเวทีโลก สร้างโอกาสทางสังคมอย่างเท่าเทียม พัฒนาทุนมนุษย์สู่ยุคดิจิทัล ปฏิรูปกระบวนทัศน์การทำงานและการให้บริการของภาครัฐ และหนึ่งในการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มุ่งสนับสนุนการนำประเทศไทยสู่เศรษฐกิจ 4.0 โดยได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือการพัฒนาศูนย์ดิจิทัลชุมชนเพื่อเป็นศูนย์ให้บริการด้านดิจิทัลและข้อมูลข่าวสารเชิงเศรษฐกิจและสังคมแก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารชุมชน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชน และการบริหารประเทศ  โดยมีหลักการดำเนินงานคือ การสร้างบุคลากรในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรและผู้ชำนาญการด้านดิจิทัลประจำชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันดิจิทัล

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลบ้านผือจังหวัดหนองคาย

รูปภาพ
แหล่งเรียนรู้เชื่อมภูมิปัญญาสู่โลกออนไลน์ ตำบลบ้านผือ เป็นตำบลในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีระยะห่างจากตัวอำเภอประมาณ 17 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2559 ชุมชนตำบลบ้านผือ ได้จัดเวทีประชาคมชุมชนขึ้น เพื่อหารือและลงความเห็นร่วมกันในการขอรับการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ICT ชุมชนตำบลบ้านผือ (ชื่อเดิม) ด้วยเห็นถึงประโยชน์ที่จะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน จึงเห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งศูนย์ฯ ณ ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสม ตั้งอยู่ใจกลางชุมชน ทำให้สะดวกต่อการเข้ามาศึกษาหาความรู้ จึงได้เลือกโรงเรียนบ้านผือ และเมื่อได้รับการจัดสรรจากกระทรวงไอซีที (เดิม) ก็ได้เปิดให้บริการแก่คนในชุมชนตั้งแต่นั้นมา ในชื่อศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนตำบลบ้านผือ มีเด็กนักเรียนเข้ามาใช้งานเป็นประจำทั้งวันธรรมดาและวันหยุด โดยมีคุณสมพงษ์ ปราบศัตรู ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านผือและผู้อำนวยการศูนย์ฯ และคุณครูกุลธิดา มานะดี เป็นผู้ดูแลศูนย์ฯ ภารกิจของศูนย์ฯ นอกจากจะมีไว้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนใ

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเทศบาลตำบลยางตลาด

รูปภาพ
น้ำพริกแมงสะดิ้ง จิ้งหรีดออนไลน์ ขายดีที่ยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอำเภอที่มี ภูมิประเทศโอบล้อมด้วยเทือกเขาเขาสูงยาว ทอดยาว ทำให้มีอากาศที่เย็นสบายตลอดทั้งปี โดยเฉพาะฤดูหนาว มีธรรมชาติที่บริสุทธิ์ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และดอกไม้เมืองหนาวที่ งดงาม นอกจากนี้ยังมีศิลปะ วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามน่าสนใจมากมาย อย่างเช่น หาดดอกเกด ชายหาดที่เปรียบเสมือนสวรรค์ของคนอีสาน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีกิจกรรมทางน้ำมากมายให้เล่นสนุกกัน แต่ด้วยภูมิประเทศที่โอบล้อมด้วยเทือกเขาสูง นั้นทำให้ความเจริญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าถึงประชาชนได้ยาก ศูนย์ดิจิทัลชุมชมเทศบาลตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงเกิดขึ้นจากดร.เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายกเทศมนตรีตำบลยางตลาด ได้ตระหนักถึงความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน จึงได้เล็งเห็นช่องทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและเศรษฐกิจของชุมชมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนร่วม ในปี พ.ศ. 2551 ดร.เกรียงไกร จึงได้ประสานงานขอความร่วมมือกับกระทรวงไอซีทีร่วมกันก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเทศบาลตำบลยางตลาด(ชื่อ

ผ้าไหม ป้ามะลิ บุรีรัมย์

รูปภาพ
จุดเริ่มต้นการทำผ้าไหมของป้ามะลิ สีดี จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมาจากปู่ย่าตายายได้ประกอบอาชีพปลูกหม่อน เลี้ยงไหม มาโดยตลอด คุณป้ามะลิ จึงมีแนวคิดที่จะสืบทอดอาชีพของบรรพบุรุษให้คงไว้แก่ลูกหลาน จึงได้รวมกลุ่มแม่บ้านขึ้นเป็น กลุ่มมะลิผ้าทอ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของป้ามะลิ ได้แก่ ผ้าพันคอไหมเปลือกนอก ผ้าหางกระรอกคู่ตีนแดง ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าโสร่ง เป็นต้น แต่เดิมนั้นจะมีการนำไปจำหน่ายในงาน OTOP ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี/งานกาชาดประจำปี แต่ในภายหลังได้รับการฝึกอบรมกับศูนย์ดิจิทัลชุมชน ในด้านการขายออนไลน์ ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางการขายได้อีกทางหนึ่ง เพราะตั้งแต่การเริ่มทำเพจเฟซบุค "ผ้าไหม ป้ามะลิ บุรีรัมย์" ป้ามะลิเล่าให้เราฟังว่า ในการสั่งซื้อออนไลน์ครั้งแรกนั้น มียอดสั้งเข้ามาประมาณสี่หมื่นบาทเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าการขายออนไลน์จะเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับทางกลุ่ม แต่ขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มรายได้ที่ค่อนข้างมาก ปัจจุบันป้ามะลิยังไม่พบปัญหาและอุปสรรคใดๆจากการขายออนไลน์ เพราะด้วยที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพอยู่แล้ว บวกกับก่อนผลิตสินค้า จะต้องให้ลูก

รายการ "ทำDE ขายดี" ตอน "ขายดีออนไลน์ที่บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่"

รูปภาพ
#ทำDEขายดี วันนี้จะพาไปสัมผัสกับบรรยากาศสุดแสนประทับใจ กับการนั่งสองแถวเที่ยวดอยอินทนนท์ จากนั้นไปชมนาขั้นบันได และเลือกชมสินค้าออนไลน์ขายดีอย่างกาแฟและผ้าทอลายน้ำไหล

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเทศบาลตำบลออนใต้

รูปภาพ
ออนใต้ สินค้าหลากหลาย ออนไลน์ขายดี เศรษฐกิจเติบโต ตำบลออนใต้เป็นตำบล เล็กๆ ตำบลหนึ่งตั้งอยู่ใน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  ที่มีความเป็นธรรมชาติและวิถีชีวิตเรียบง่ายในรูปแบบของชนบท ชาวชุมชนออนใต้รักษาวิถีชิวิตแบบดั้งเดิม มีความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ  มีวิถีชีวิตชุมชนที่เรียกว่า  “บ้านจุ้ม เมืองเย็น” (บ้านที่อุดมสมบูรณ์ เมืองที่สงบร่มเย็น)  ทำให้ตำบลออนใต้มีเสน่ห์ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมเยือน นอกจากจะมีวัฒนธรรมอันดีงามที่สืบต่อกันมาจากบรรพบรุษแล้ว ตำบลออนใต้ยังมีสินค้าชุมชนที่น่าสนใจหลายๆ อย่าง เช่น ผ้าทอ งามศิลปหัตถกรรมจากหวาย เครื่องปั้นดินเผา ศูนย์ดิจิทัลชุมชน เทศบาลตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลออนใต้  เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554  มีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 16 เครื่องไว้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง คือ "ต้องการที่จะให้คนในชุมชนทุกกลุ่มทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนไปถึงผู้สูงอายุมีความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถก้าวทันเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ และขยายช่องทางขายสินค้าของคนในชุมชนให้ออกไ

กลุ่มเกษตรไม้กฤษณา

รูปภาพ
จุดเริ่มต้นของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรไม้กฤษณา จากการที่ปลูกไม้ทุกชนิดจนเป็นป่าที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แล้วมีคนมาขอซื้อต้นกฤษณา 2 ต้น เลยทำให้เริ่มศึกษาหาวิธีที่จะทำแก่นให้เกิดในกฤษณาได้ โดยใช้สารจุลินทรีย์ฉีดเข้าไปในต้นแล้วทุกจุดจะได้เป็นแก่นกฤษณา เลยไปจดความลับทางปัญญาแล้วเอามาสร้างจากกลุ่มธรรมดาจนเป็นสหกรณ์และเป็นวิสาหกิจชุมชนตามลำดับ นอกจากการจำหน่ายผ่านทางช่องทางปกติแล้ว คุณพิกุล กิตติพล ได้เปิดเว็บไซต์ http://kridsana.com/ และเพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/hommesook เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดต้นทุนในการประชาสัมพันธ์ สำหรับคนที่สนใจทำธุรกิจออนไลน์และอยากทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณให้ประสบความสำเร็จ อย่าลืมแวะมางาน "มหกรรมสินค้าชุมชนขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก" วันที่ 12-14 กันยายน 2560 ณ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.tvecom.com/p/expo.html

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเศรษฐกิจเทศบาลตำบลอากาศอำนวย

รูปภาพ
ดิจิทัลชุมชน กับการยกระดับ ผ้าครามสู่การค้าออนไลน์ อำเภออากาศอำนวย เดิมเป็นเพียงกิ่งอำเภออากาศอำนวย ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ภายหลังเริ่มมีราษฎรตั้งอยู่หนาแน่น กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ ยกฐานะกิ่งอำเภออากาศอำนวยขึ้นเป็นอำเภออากาศอำนวย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2508 เป็นต้นมา อำเภออากาศอำนวย มีของดีที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จัก คือ ผ้าย้อมคราม และผ้ามัดหมี่ย้อมครามที่ย้อมจากสีครามธรรมชาติและทำเป็นลายผ้า ซึ่งในรายละเอียดของลายนั้น จะบ่งบอกถึงวิถีชีวิตและคติความเชื่อของชุมชนท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นของสินค้า เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ "สมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้ามัดหมี่ ชุมชนที่ 5 หมู่ที่ 6" โดยเริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบในชุมชน ตลอดจนการออกแบบลายผ้า ที่ในปัจจุบันมีการพัฒนาลายผ้าที่เป็นที่นิยมและทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเศรษฐกิจอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2554 มีคอมพิวเตอร์เพื่อบริการจำนวน 16 เครื่อง ปัจจุบันมี ดร.ปาริชาติ โน้ตสุภา ผู้อำนวยการกองการศึกษาสำนักงานเทศบาลตำบลอากาศอำน

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน.อําเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

รูปภาพ
ขับเคลื่อนความเป็นอยู่ด้วยความรู้ สู่โลกออนไลน์ อำเภอเรณูนคร เป็นอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาที่สำคัญทางศาสนา นั้นคือ พระธาตุเรณู และหลวงพ่อพระองค์แสนเป็นที่เคารพของชาวเรณูนคร ชาวจังหวัดนครพนม และประชาชนทั่วไป เป็นอำเภอที่ยังคงความเป็นธรรมชาติ มีวิถีชีวิตท้องถิ่นอย่างชัดเจน โดยชาวเรณูนครเป็นกลุ่มคนที่มีรากฐานมาจาก ชาวภูไท มีภาษาที่เรียกว่า ภาษาถูไท มีลักษณะที่แตกต่างไปจากภาษาอีสานทั่วไป และมีวัฒนธรรมของตนเอง อย่าง ฟ้อนภูไท เป็นการฟ้อนรำที่งดงาม ประกอบด้วยดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ และนอกจากมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น แล้วที่นี่ยังมีศูนย์หัตถกรรมสินค้าพื้นเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย เนื่องจากอำเภอเรณูนครแห่งนี้เต็มไปด้วยงานด้านเกษตรกรรม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขาย จึงทำให้ชาวชุมชนมีความห่างไกลจากเรื่องเทคโนโลยี ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเรณูนคร ได้รับการสนับสนุนจัดตั้ง ศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน.อำเภอเรณูนคร ตามนโยบายของรัฐและสํานักงาน กศน. เมื่อปี 2559 มีเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมให้บริการประชาชน 16 เครื่อง มีวัตถุประสงค์  "เพ

รายละเอียดเสวนา/บรรยายพิเศษเวทีกลาง

รูปภาพ
12 กันยายน 2560 13 กันยายน 2560 14 กันยายน 2560

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ตำบลโกรกแก้ว อำเภอโนนสุวรรณ

รูปภาพ
มนุษย์ล้อ หัวใจเหล็กกับการพัฒนาชุมชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตำบลโนนสุวรรณ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบสูงลาดต่ำจากทิศใต้ไปทิศตะวันตก ประชาชนในพื้นที่ มีหลายเชื้อชาติ ทำให้มีภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวันหลากหลาย เช่นภาษาถิ่นไทยนางรอง ไทยอีสาน เขมร มีประเพณีวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาในชุมชน และในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีอำเภอโนนสุวรรณ จะมีการจัดงาน “ของดีโนนสุวรรณ” โดยมีสินค้าของดีที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ กล้วยเบรคแตก ไข่เค็มสมุนไพร น้ำพริกปลาร้าสมุนไพร และผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ซึ่งนอกจากนำสินค้าเหล่านี้ มาจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าแล้ว ยังมีการเปิดร้านค้าออนไลน์อีกด้วย โดยมี “ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลโกรกแก้ว” เข้ามาเป็นหน่วยงานหลักในการให้ความรู้ จัดฝึกอบรมในด้านการขายสินค้าออนไลน์ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนตำบลโกรกแก้ว อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มต้นเปิดให้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ 16 เครื่องเมื่อปี พ.ศ. 2554  เป็นศูนย์ฯ ที่ร่วมกันบริหารจัดการระหว่างชุมชนและเทศบาลตำบลโกรกแก้ว ให้บริการแก่ช

ศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน.ตำบลขุนฝาง

รูปภาพ
เมืองลับแล แต่ไม่ลับตาคน ขับเคลื่อนชุมชน ก้าวสู่ออนไลน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นชุมชนโบราณมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้ชื่อว่า เมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มไทยสยามจากอาณาจักรสุโขทัย กลุ่มไทยญวนจากอาณาจักรล้านนา และกลุ่มชาติพันธุ์ล้านช้างจากประเทศลาว มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามขึ้นชื่อ อย่างเช่นอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ มีสินค้าดีที่ขึ้นชื่อประจำจังหวัดอุตรดิตถ์มายาวนาน ได้แก่ ดาบเหล็กน้ำพี้ กล้วยเบรกแตก และข้าวพันผัก ซึ่งนอกจากจะมีการขายที่หน้าร้านแล้ว ยังมีการขายออนไลน์ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กและทางแอปพลิเคชันไลน์ โดยมีการสนับสนุนจาก ศูนย์การดิจิทัลชุมชน กศน.ตำบลขุนฝาง ที่เข้ามาให้ข้อมูลความรู้ในเรื่องการขายออนไลน์ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน.ตำบลขุนฝาง เป็นศูนย์นำร่องที่จัดตั้งขึ้นใหม่โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา มีคอมพิวเตอร์ให้บริการประชาชนจำนวน 16 เครื่อง โดยมี อาจารย์ชัยเดช ใจกัน เป็นผู้ดูแลศูนย์